โรงเพาะแหนแดง

 
 
โรงเพาะแหนแดง

     เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปตามบริเวณน้ำนิ่ง เช่น บ่อหรือคูน้ำ แหนแดงเปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยในโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึง ในโตรเจนของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง
     Azolla microphylla เป็นแหนแดงที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้แก่เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยง สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มที่บนผิวน้ำในนาข้าว 1 ไร่ จะให้น้ำหนักสดถึง 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ (150 กิโลกรัมแห้ง) ซึ่งคิดเป็นปริมาณในโตรเจน 6-7.5 กิโลกรัม แหนแดงสามารถพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว โดยชื้อพันธุ์แหนแดงเริ่มต้น 100 กิโลกรัม สามารถเพิ่มปริมาณเป็น 3,000 กิโลกรัม ในเวลาเพียง 15-20 วัน ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตแหนแดงไว้ใช้ในนาข้าวได้ด้วยตนเอง

ประโยชน์ของแหนแดง
- ทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีในโตรเจน
- เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี
- ใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของแหนแดง
- ระดับน้ำควรมีน้ำลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร แต่ไม่ควรลึกเกิน 1 เมตร
- อุณหภูมิ 25-32 องศาเซลเซียส
- มีแสงแดดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ (ร่มรำไร)
- ความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้แหนแดงเจริญได้ดี
- ความเป็นกรด-ด่างประมาณ 6-7 (ไม่ควรเกิน)  
- ธาตุอาหารต่าง ๆ อาจจะต้องเพิ่มฟอสฟอรัสและปุ๋ยอินทรีย์เล็กน้อย
- ใช้ตาข่ายคลุมปากบ่อแม่พันธุ์ หากเกิดการระบาดรุนแรงอาจต้อง
ใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้