ไม้พะยูง ไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูง
ไม้พะยูง ไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูงหนึ่งทางเลือกสำหรับสวนป่าเศรษฐกิจ
ต้นไม้ประจำจังหวัดพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลของจังหวัดหนองบัวลำภู
ลักษณะของ ไม้พะยูง
ใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคี่โค้งมนรูปรีปลายแหลมเรียงสลับ 7 - 9 ใบ
ลักษณะลำต้นเรียบบาง สีเหลืองอมน้ำตาลรอยแตกยาวล่อนเป็นแผ่นบางๆ แก่นสีน้ำตาลอมแดงและมีปลายสีดำแทรกเนื้อไม้มีความละเอียด
ดอกช่อแยกแขนง ตามปลายกิ่งยาว 10 - 20 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผลและเมล็ด มีลักษณะฝักเกลี้ยง ขอบขนานแบนและบาง มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด มีลักษณะแบน คล้ายรูปไตสีน้ำตาลเข้ม ผิวมัน
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นกิ่งผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่มีพุ่มใบกว้าง
แตกกิ่งก้านเป็นแขนง
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
เมื่อกล้าไม่ได้ขนาดที่เหมาะสมค่อยจัดการย้ายลงหลุมปลูกนิยม ปลูกกลางฤดูฝนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
การใช้ประโยชน์
เช่น เฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลัก เครื่องมือ เครื่องดนตรี
เนื้อไม้มีราคาแพงมาก
ปลูกและตัดได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือครอบครองอย่างถูกต้องตลาดไม้ต่างประเทศมีความต้องการสูง
แหล่งที่พบป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งประเทศไทย พบได้ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือบริเวณพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 - 300 เมตร
แหล่งที่มา : องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม